jjinxx said:
I think they look pretty good. The mustache needs to go...James' character looks pretty arrogant hahaha
I read somewhere (though it may not be accurate since it was just a rough translation from google translate) that there is a plot point in the novel where James Ji's character has to have a mustache since he was hunting down bandits or something and he was staking out for a while so he didn't get to shave? Or he had to look the part? :scratchhead2: I dunno. Something like that.
Anyway, I found this summary in Pantip, unfortunately, since I cannot read Thai, I could not credit the person who posted it, but here is the url of the
post: anyway, the summary is as follows, I hope someone here in the forums could translate it for us. I would appreciate it very much.
เรื่อง : ปดิวรัดา
ผู้เขียน : สราญจิตต์
สำนักพิมพ์ : รวมสาส์น
ปีที่พิมพ์ : 2511 (พิมพ์ครั้งที่ 2)
เล่มเดียวจบ
ผู้อ่านหลายท่านคงจะคุ้นเคยกันดีกับนวนิยาย “วนาลี” ผลงานของสราญจิตต์ นักเขียนรุ่นบรมครูอีกท่านหนึ่ง ที่ผลงานอาจจะไม่มากนักในอดีต นอกจากวนาลี ที่ทำให้เพลง วนาสวาท เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่นำมารีวิวในวันนี้ก็กำลังจะเป็นผลงานทางโทรทัศน์ในเร็ววันนี้ก็คือ ปดิวรัดา นั่นเองครับ
เห็นชื่อปดิวรัดา ครั้งแรก ผมคิดว่าน่าจะเป็นชื่อนางเอกของเรื่อง แต่เมื่อได้อ่านไปจนจบเรื่อง จึงเข้าใจความหมายที่ไพเราะของชื่อเรื่องนี้ที่เหมาะสมกับพลอตเรื่องเป็นอย่างยิ่ง
ชีวิตของริน ระพี เด็กสาวกำพร้าที่มารดา นำมาฝากเลี้ยงไว้กับ คุณหญิงเพ็ญแข และเจ้าคุณบำรุงประชากิจมาตั้งแต่ยังแบเบาะ แม้ว่าคุณหญิงจะเอ็นดูความอ่อนน้อมถ่อมตนและกิริยามารยาทน่ารักสมเป็นกุลสตรี แต่คุณหญิงเองก็ยังมีธิดาอีกสองคน เป็นแก้วตาดวงใจที่เธอรักยิ่งกว่า
นั่นก็คือ บราลี และบุรณี บำรุงประชากิจ บราลี พี่สาวคนโต เป็นคนฟุ้งเฟ้อ รักสบายและไม่สนใจความรู้สึกของคนอื่น ในขณะที่บุรณี น้องสาว มีนิสัยตรงกันข้ามและสงสารริน คอยให้ความช่วยเหลือดูแลเด็กสาวกำพร้าผู้น่าสงสารร่วมชายคาบ้านของเธออยู่เสมอ บราลีมีโอกาสไปเที่ยวปีนัง และพบกับ นายพณิช ชวาลา นักธุรกิจชาวปักษ์ใต้ที่เข้ามาจีบ หญิงสาวมองเห็นฐานะร่ำรวยที่จะเอื้อความสุขให้เธอได้ จึงคบหาดูใจกับเขาโดยไม่รู้รายละเอียดอื่นๆเลยแม้แต่น้อย และคุณหญิงเพ็ญแขเองก็เห็นด้วยกับความคิดของบุตรสาว
จดหมายจาก คุณหญิงแก้ว ศิวะเวทย์ ภรรยาของเจ้าคุณนิติศาสตร์ธำรงผู้ล่วงลับ มีมาถึงเจ้าคุณบำรุง ทวงสัญญาที่ สามีของเธอกับเจ้าคุณเคยตกลงกันไว้ นั่นก็คือการหมั้นหมายระหว่างบุตรชายของคุณหญิงแก้ว กับลูกสาวคนโตของท่าน
คุณหญิงเพ็ญแขตั้งแง่ในเรื่องนี้ เพราะเธอรู้มาว่าตั้งแต่เจ้าคุณนิติศาสตร์ธำรงเสียชีวิตไป ชะตาคุณหญิงแก้วก็ตกอับ ยากจน จนต้องย้ายไปทำมาหากินอยู่ทางเมืองสงขลา ปักษ์ใต้มานานหลายปี เธอคิดว่า ลูกชายคุณหญิงแก้ว ก็คงจะยากจนไม่ต่างกัน เมื่อเทียบกับนายพณิชที่ร่ำรวย
แผนการเปลี่ยนตัวคู่หมั้น เพื่อไม่ให้เสียสัจจะจึงเริ่มต้นขึ้น คุณหญิงทวงบุญคุณกับริน ให้รับสมอ้างเป็นบราลี บำรุงประชากิจ และสวมรอยไปแต่งงานกับปลัดศรัณย์ ศิวะเวทย์ ลูกชายคนเดียวของคุณหญิงแก้ว ตามคำสัญญานั้น ริน จำต้องตกลง ในขณะที่ บราลี ก็เปลี่ยนชื่อเป็นบารนี แทน เพื่อไม่ให้คนอื่นเกิดความสงสัย
บราลี หรือริน เดินทางไปสงขลา และแต่งงานกับปลัดศรัณย์ ชายหนุ่มรูปงามเกินกว่าที่เธอจะคาดคิด แต่น่าแปลกที่เขากลับดูเหมือนจะยินยอมรับเงื่อนไขการแต่งงานคลุมถุงชนครั้งนี้โดยไม่โต้แย้งใดๆทั้งสิ้น ซ้ำร้าย เมื่อได้อยู่ด้วยกัน ท่าทางของปลัดศรัณย์ กลับดูเหมือนล่วงรู้เท่าทันเธอและคุณหญิงเพ็ญแขทุกอย่าง
รินเก็บความลับเรื่องนี้ไว้ด้วยความไม่สบายใจเลยสักนิดเดียว หากเพื่อตอบแทนพระคุณผู้อุปการะ หญิงสาวจึงก้มหน้ารับสมอ้างนั้น และเป็นลูกสะใภ้คุณหญิงแก้ว คอยช่วยเหลืองานบ้านและทุกอย่างจนทำให้คุณหญิงแก้วเองก็พอใจสะใภ้คนนี้เป็นอย่างมาก
แต่สิ่งที่รินคิดไม่ถึงก็คือ คนรักเก่าของศรัณย์ ที่ชื่อ ดวงสวาท นั่นต่างหาก หญิงสาวก๋ากั่นผู้นั้น พาตัวเองเข้ามาพัวพันกับศรัณย์ สามีของเธออย่างไม่สนใจว่าเธอคือภรรยาถูกต้องตามกฎหมายของเขาเลยด้วยซ้ำ ดวงสวาทอ้างว่าหล่อนเคยรักกับศรัณย์มาก่อน และไม่แคร์ถ้าหากเขาจะมีภรรยาที่ถูกบังคับให้แต่งงานกันอย่างเธออยู่ด้วย!
ดูเหมือนปลัดศรัณย์เองก็ไม่สนใจความรู้สึกเจ็บปวดของรินเลยแม้แต่น้อย เขายิ่งพยายามเอาอกเอาใจดวงสวาท ต่อหน้าเธอเหมือนจะเย้ยหยัน ว่าเธอเองก็หลอกปลอมตัวมาเช่นกัน...
ครอบครัวของบารนีและบุรณี มีญาติคนสนิทอีกคนหนึ่งคืออรุณฤกษ์ ชายหนุ่มผู้นี้ มีสหายร่วมก๊วนหลายคน รวมถึง ชรัตน์ รพิพันธ์ พ่อเลี้ยงหนุ่มจากเมืองเหนือที่เพิ่งลงมาเที่ยวพระนคร ชรัตน์เป็นบุตรชายคุณพระพิจารณ์ ซึ่งในอดีต คุณพระมีภรรยาน้อยอีกท่านหนึ่งและเกิดความเข้าใจผิดจนหอบลูกหนีมาโดยไม่มีโอกาสได้ปรับความเข้าใจกัน ผ่านไปเกือบยี่สิบปี เมื่อจู่ๆ ท่านก็ได้รับจดหมายจากอดีตภรรยา แจ้งมาแต่เพียงว่า บุตรีที่เธอพาหนีมาด้วยนั้น ได้นำไปมอบไว้ให้ผู้มีอุปการะท่านหนึ่งเลี้ยงดู และบอกแต่เพียงว่า เด็กหญิงคนนั้น มีชื่อว่า ริน ระพี!!
ชรัตน์พยายามตามหา ริน ระพี แต่ก็ไม่มีโอกาสพบสักครั้ง เขาเองได้รู้จักกับบุรณี จนเกิดความชอบพอกัน จึงไถ่ถามเรื่องนี้ บุรณี นำไปบอกกับคุณหญิงเพ็ญแข ด้วยความดีใจที่รินจะได้พบกับพ่อที่แท้จริงของเธอเสียที แต่คุณหญิงเพ็ญแข มีความโลภมากกว่านั้น เธอกลัวว่ารินจะมาแย่งสมบัติของชรัตน์ บุตรชายคนโตไป เพราะเห็นว่าชรัตน์ กำลังติดพันกับบุรณี ซึ่งอาจจะเป็นภรรยาร่วมกองมรดกกับเขาในอนาคต จึงพยายามบ่ายเบี่ยงไม่เปิดเผยความจริงให้ชรัตน์ได้รับรู้
บารนี พี่สาวบุรณี ที่เปลี่ยนชื่อ ได้แต่งงานกับนายพณิชสมใจคุณหญิง และย้ายลงไปอยู่ที่ปักษ์ใต้ ที่นั่นเองเธอจึงล่วงรู้ว่า นายพณิชร่ำรวยขึ้นมาจากอาชีพค้าของเถื่อนข้ามแดน ซึ่งผิดกฎหมาย และถูกปลัดศรัณย์และตำรวจกำลังตามตัวจับอยู่ ชีวิตที่วาดหวังว่าจะสวยหรู แท้จริงมันไม่ใช่เสียแล้ว บารนีผิดหวังจนต้องกลับมาที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง ส่วนพณิชก็หนีตำรวจไปกบดานอยู่ที่อื่น เมื่อความจริงถูกเปิดเผย
ดวงสวาท พยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อชิงปลัดศรัณย์กลับมาเป็นของเธอ ในช่วงที่ปลัดหนุ่มเดินทางมากรุงเทพฯ เธอสืบรู้ความจริงว่าริน ไม่ใช่บราลี แต่เป็นเพียงเด็กรับใช้ในบ้านปลอมตัวมา จึงเอาเรื่องนี้มาขู่หญิงสาว รวมถึงหลอกว่าเธอกับศรัณย์รักกันมาก แต่เขามีความจำเป็นขัดมารดาไม่ได้ จึงต้องแต่งงานกับเธอ และขอร้องให้ริน เป็นฝ่ายถอยไป เพื่อเธอจะได้แต่งงานกับศรัณย์
รินเสียใจ และเพิ่งรู้ว่าเธอเองก็หลงรักศรัณย์ แต่ไม่ต้องการให้เขาผิดหวังในตัวเธอที่หลอกลวงเขา หญิงสาวจึงตัดสินใจหนีกลับพระนคร...
รถเร่งฝีจักรเร็วขึ้น ลากกระบวนยาวผ่านสถานีสงขลาไปสู่จุดหมายปลายทางคือกรุงเทพฯ รินทรุดกายลงนั่งพิงพนักอย่างละเหี่ยใจ ใจวาบหวิวราวจะหลุดลอย หลับตาลงเพื่อกลั้นน้ำตาไม่ให้ไหลพรากลงมาแต่มันก็ได้ไหลซึมเปียกขนตางอนระยับชุ่ม ลาก่อนสงขลา ลาก่อนชีวิตที่ผ่านไป... ละครที่หล่อนได้แสดงเป็นตัวมายาสำคัญได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่นี้ไปหล่อนจะตื่นขึ้นพบความจริง ความจริงของชีวิต ที่ไม่มีอะไรเลย ตัวคนเดียวไร้ญาติ ไร้บ้าน ชีวิตจะระเหเร่ร่อนไป นกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วจะนอนไหนเลย...
ในขณะที่ปลัดศรัณย์เองนั้นเล่า ระหว่างที่เขาเดินทางกลับมาสงขลา เขาก็ได้คำตอบจากหัวใจตัวเองแล้วเช่นกัน...
รถไฟเปิดหวูดยาว ฝีจักรชะลอลง แสดงว่ากำลังจะถึงสถานีในอีกสองสามนาทีต่อมา
เขาปิดหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งกางไว้โดยมิได้อ่านลง ความคิดที่กำลังล่องลอยไป ถูกเรียกกลับคืนมา อีกสองสามนาที เขาก็จะได้กลับไปถึงบ้าน บ้านที่มีแต่ความสงบสุข และมีชีวิต ตลอดเวลาที่เขาอยู่ในกรุงเทพฯ เขาคิดถึงบ้าน และคิดถึงทวีขึ้นทุกวัน ครั้นแรกเขาหลอกตัวเองว่าคิดถึงบ้าน เป็นห่วงมารดาผู้ชรา แต่นานวันเข้า เขาก็ไม่อาจปิดความจริงไว้ได้ว่า เขาคิดถึงผู้หญิงสาวร่างแบบบางผู้มีอาการเคลื่อนไหวแช่มช้อย หน้าของหล่อนสวยซึ้ง ภาพของหล่อนทุกอิริยาบถพิมพ์อยู่ในใจของเขาโดยไม่รู้สึกตัว กระทั่งเมื่อเขาจะนึกถึงหล่อนครั้งใด เขาย่อมแลเห็นได้กระจ่างชัด เหมือนผู้หญิงคนนั้นมาปรากฏตัวต่อหน้า!
เมื่อมาห่างไกลนานวันเช่นนี้ เขาจึงเข้าใจความรู้สึกของตนเองที่มีต่อหญิงผู้นั้น ว่าเขาต้องการหล่อนยิ่งนัก เพียงห่างตาเขาไปชั่วเวลาสัปดาห์เดียว เขายังระลึกถึงอย่างกระวนกระวายใจเพียงนี้แล้ว ถ้ามีเหตุบังเอิญให้เขาสูญเสียหล่อนตลอดไป เขาจะมีชีวิตอยู่ด้วยความสุขได้อย่างไร!
บุรณี เป็นคนสัตย์ซื่อและทนเห็นรินถูกเอาเปรียบไม่ได้ หญิงสาวตัดสินใจบอกความจริงกับชรัตน์ ในช่วงที่ได้รับจดหมายจากริน ว่าจะเดินทางกลับมากรุงเทพฯพอดี ชรัตน์ และบุรณี ไปรอรับเธอที่สถานีรถไฟและเมื่อนั้นความจริงทุกอย่างก็เปิดเผย ริน ไม่ใช่เด็กกำพร้าอีกต่อไป แต่เป็นธิดาคนเดียวของมหาเศรษฐีแห่งเมืองเหนือ คุณพระพิจารณ์...
ส่วนศรัณย์ เมื่อกลับมาถึง เขาพบว่ารินจากไปแล้ว... และดวงสวาท ก็เข้ามาหา เพื่อขอคืนดี แต่ศรัณย์ ก็ไม่สนใจ เขาบอกเธอว่าเขาเคย “หลง” เธอ แต่ไม่เคยรัก ผู้หญิงคนเดียวที่เขารักและหวังจะร่วมชีวิตด้วยก็คือริน! เขารู้ความจริงเรื่องนี้มาตั้งแต่แรกแล้ว เมื่อบุรณี และบราลี สองพี่น้องไปเที่ยวปีนัง ที่นั่น ศรัณย์ได้รู้จักว่าบราลี ตัวจริงเป็นอย่างไร ดังนั้นเมื่อรินปลอมตัวมาเป็นภรรยา เขาจึงต้องการทดสอบนิสัยหญิงสาว จนเกิดความประทับใจและหลงรักในที่สุด
บัดนี้ หญิงสาวในดวงใจ ผู้เป็นดั่งปดิวรัดา (บดี = สามี + วรดา = นางผู้เป็นที่รัก) หรือภรรยาสุดที่รักของสามีเช่นเขา ก็คือ ริน ระพี แต่เพียงคนเดียวเท่านั้น!
ศรัณย์ เดินทางกลับมาที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง คราวนี้ เพื่อตามหาหญิงสาวในดวงใจของเขาให้กลับคืนมา และเขาจะไม่มีวันพรากจากเธอไปอีกตลอดกาล...
เป็นนิยายโรแมนติคพาฝันยุคเก่าอีกเรื่องที่อ่านได้เพลิดเพลินครับ ยังนึกว่าถ้าหากสร้างเป็นละครแนวพีเรียดย้อนยุคในสมัยนั้น เหมือนอย่างเรื่อง วนาลี หนึ่งในทรวง หรือ วนิดา ก็น่าจะเป็นอีกเรื่องที่น่าติดตามชมไม่น้อยเลยทีเดียว